คอร์รัปชั่น “วิโรจน์” ชี้ 4 ธงสำคัญแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

คอร์รัปชั่น หมายถึง ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการบุติธรรม ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กถึงปัญหาการคอรัปชั่นในประเทศไทยว่า ที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าไม่มีการปราบปรามนะครับ ก็มีการปราบกันเป็นระยะๆแต่พอสักพักการคอร์รัปชั่น ก็กลับมาใหม่ นั่นเป็นเพราะว่า เราเน้นแก้ปัญหาที่ตัวบุคคล แต่ไม่ได้แก้ปัญหาที่โครงสร้างเลย

ดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นที่ดีที่สุด จะต้องไม่ใช่แค่ปราบ แต่ต้องแก้ไขที่โครงสร้างด้วย และต้องทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ร่วมกันของระบบที่ปราศจากคอร์รัปชั่น ทำให้การคอร์รัปชั่น มีกระบวนการที่วุ่นวายกว่าการทำงานตรงไปตรงมา ตราบใดก็ตามถ้ายังมีการสมประโยชน์กันของการให้และรับสินบน การทุจริตคอร์รัปชั่นก็จะผุดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดไป

การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น ต้องมีธงสำคัญในการแก้ไขปัญหาอยู่ 4 ด้าน ด้วยกัน คือ

1) การสร้างระบบที่ข้าราชการที่ดีมีโอกาสที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน

ข้าราชการระดับปฏิบัติงานได้รับสวัสดิการที่ดี มีขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต ต้องไม่มีการซื้อขายตำแหน่งไม่มีระบบตั๋ว เพราะถ้าได้ตำแหน่งมาด้วยการซื้อ ก็ไม่วายต้องใช้อำนาจจมาถอนทุนคืน หรือไม่ก็ต้องตอบแทนมาเฟียเจ้าของทุน

2) การปราบปรามวงจรส่วยอย่างครบวงจร

ไม่ใช่แค่จับปลาซิวปลาสร้อย ดังนั้น การมี พ.ร.บ. ปกป้องผู้เปิดโปงเบาะแสการคอร์รัปชั่น (Whistle Blower Protection Act) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะหากผู้เปิดโปงการทุจริต ได้รับการกันตัวไว้เป็นพยาน และได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างดี เมื่อไหร่ก็ตามที่เครือข่ายการทุจริตขยายวง จนผลประโยชน์ไม่ลงตัว เมื่อการเปิดโปงเกิดขึ้นก็จะทำให้รัฐมีหลักฐานเพียงพอ ที่จะทลายเครือข่ายการทุจริตได้แบบยกรัง

3) การแก้ไขกฎหมายที่เวิ่นเว้อวุ่นวาย

มีงานธุรการเต็มไปหมด ให้ดุลยพินิจกับเจ้าหน้าที่มากจนเกอนไป เนื้อหา และหลักเกณฑ์ในกฎหมายไม่สมเหตุสมผล ขัดกับมาตราฐานสากล ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง กฎหมายแบบนี้ จะทำให้คนที่ตั้งใจทำธุรกิจอย่างสุจริต ต้องมาผิดกฎหมายอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ทำให้ข้าราชการที่ไม่ดีบางคน เอากฎหมายแบบนี้มาใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง รังควาน เพื่อเรียกรับผลประโยชน์

ตัวอย่างเช่นกรณีส่วยทางหลวง ก็ต้องมาทบทวนว่า การกำหนดให้รถพ่วง ไม่ว่าจะ 6 เพลา 20 ล้อ 6 เพลา 22 ล้อ หรือ 7 เพลา 24 ล้อ ที่แต่เดิมมีน้ำหนักจำกัดที่ 52 ตัน 53 ตัน และ 58 ตัน อยู่ดีๆ คสช. ก็เปลี่ยนมาให้มีน้ำหนักจำกัดเท่ากันที่ 50.5 ตัน เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 57 นั้นสมเหตุสมผลตามหลักวิศวกรรม หรือไม่ หรือเป็นการปรับหลักเกณฑ์ เพื่อหมายให้คนที่ทำถูกกฎหมายอยู่ดีๆ กลายเป็นคนที่ผิดกฎหมายไปซะอย่างนั้น

โดยทั่วไปแล้ว การจำกัดน้ำหนักรถบรรทุก ต้องพิจารณาจากน้ำหนักเฉลี่ยต่อล้อ ไม่ใช่น้ำหนักรวม ถ้าน้ำหนักบรรทุกมาก แต่มีจำนวนล้อมากเพียงพอที่จะถ่ายน้ำหนักลงพื้นถนน ก็จะไม่เป็นปัญหา ซึ่งในเรื่องนี้หลักเกณฑ์การจำกัดน้ำหนักของรถบรรทุก สามารถปรึกษาวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไาย หรือสภาวิศวกร ให้ทบทวนตามหลักวิศวกรรม แล้วกำหนดเกณฑ์ใหม่ให้มีความสมเหตุสมผลได้เลย ถ้ากฎหมายมีความสมเหตุสมผล ไม่มีใครอยากจ่ายส่วยหรอกครับ

4) การนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยสร้างความโปร่งใสในระบบราชการ และลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ลง เช่น

– การทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ ลดงานธุรการ และขั้นตอนการขออนุญาตที่ซ้ำซ้อนลง
– การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส
– การใช้ AI จับพิรุธของการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ

อย่างกรณีส่วยทางหลวง ถ้าเราเปลี่ยนระบบการชั่งน้ำหนัก จากการต่อคิวเข้าด่านชั่ง ให้กลายเป็นระบบ “การชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง (Weigh In Motion หรือ WIM)” ก็จะทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวชั่งน้ำหนัก คันไหนบรรทุกน้ำหนักเกิน ก็จะถูกออกใบสั่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยทันที แล้วให้ไปจ่ายค่าปรับผ่านระบบธนาคาร

คอร์รัปชั่น

การทุจริตทางการเมือง

การใช้ตำแหน่งหรืออำนาจทางราชการและการเมือง หรือในองค์กรของเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ หรือการฉ้อโกงเอาเงินสาธารณะมาเป็นของตนและพรรคพวก หรือหาประโยชน์อื่นๆ ซึ่งการทุจริตนี้อาจมิใช่เป็นตัวเงิน วิธีการที่ใช้อาจจะผิดกฎหมายหรือไม่ผิดก็ได้ แต่เป็นพฤติกรรมซึ่งสาธารณชนจะไม่พอใจหรือผิดจากจารีตประเพณีนิยม เนื่องจากเป็นการกระทำที่ขัดกับความคาดหวังของสาธารณชน เรื่องมาตรฐานจริยธรรมและพฤติกรรมที่ดีของบุคคลสาธารณะ (ข้าราชการและนักการเมืองหรือองค์กรเอกชน) คำจำกัดความส่วนหลังนี้ เขียนไว้เพื่อเปิดช่องให้มีการตีความพฤติกรรมการทุจริตที่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละสังคม หรือแม้แต่ในสังคมเดียวกัน

ตัวอย่างกิจกรรมแห่งการทุจริต

  • การละเมิดระบบ (abuse of the system)
  • การฮั้วประมูล (bid rigging)
  • การให้สินบน (bribery)
  • การรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจ (cartel)
  • การสมรู้ร่วมคิด (collusion)
  • การเล่นพรรคเล่นพวก (cronyism)
  • การโกงการเลือกตั้ง (electoral fraud)
  • การยักยอก (embezzlement)
  • การใช้อิทธิพลมืด (influence peddling)
  • การกรรโชก, การรีดไถ (extortion)
  • องค์กรอาชญากรรม (organized crime)
  • คติเห็นแก่ญาติ (nepotism)
  • การอุปถัมภ์ (patronage)
  • การรวมหัวกันกำหนดราคา (price fixing)

ประเภทและสาเหตของคอรัปชั่น

คอรัปชั่น คือการกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น

  • การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต
  • ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
  • การบอกว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน

ประเภทของคอรัปชั่น มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

  1. การคอรัปชั่นขนาดเล็กน้อย (petty corruption) คือ การรับเงินที่ไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อดำเนินการบางอย่างให้กับผู้ที่ให้เงิน
  2. การคอรัปชั่นขนาดใหญ่ (big corruption) ซึ่งมักเป็นการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ที่รับเงินในรูปแบบของสินบนเป็นเงินจำนวนสูง และโครงการใหญ่ๆ เช่น บริษัทต่างๆ
  3. การให้ของขวัญ (gift) เป็นการคอรัปชั่นอีกประเภทหนึ่ง เป็นการให้ตอบแทนในรูปแบบสิ่งของ หรือการให้ตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเชิญไปรับประทามอาหาร ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิด

สาเหตุของคอรัปชั่น

  1. คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือความร่ำรวย ย่อมเป็นแรงจูงใจในการแสวงหาเงินทอง
  2. ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์
  3. ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง สร้างลูกน้องไว้ช่วยเหลือตนในเรื่องต่างๆ
  4. ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ
  5. สภาพทางการเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพื่อช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองและผลประโยชน์

รูปแบบของการคอรัปชั่น

  1. การทุจริตในการซื้อจัดจ้าง การทุจริตในเรื่องเหล่านี้มีตั้งแต่การเรียกรับเงินสินบน ค่านายหน้า หรือการตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ในการอนุมัติคำร้องเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ
  2. การทุจริตโดยการยักยอกทรัพย์ ของทางราชการหรือการทุจริตในการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล และค่าเช่าบ้าน เช่น การใช้พาหนะของราชการ โดยเบิกค่าพาหนะ หรือการเบิกเบี้ยเลี้ยงเกินวันเวลาที่ปฏิบัติจริง หรือ การเบิกค่าเช่าบ้าน แต่ไม่ได้เช่าบ้านจริง
  3. การทุจริตโดยการเรียกรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นในการแต่งตั้งข้าราชการ ในการเลื่อนตำแหน่งหรือการโยกย้ายไปในพื้นที่ ที่อยากไป โดยการให้ค่าตอบแทน หรือเรียกว่า “การซื้อ”
  4. การซื้อขายเสียงและการให้ผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆในการเลือกตั้ง การทุจริตเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการคอรัปชั่นทางการเมือง เช่นการให้เงิน สิ่งของ แก่หัวคะแนนเสียง

สรุปก็คือ การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น จะใช้แค่การปราบอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องแก้ที่โครงสร้างด้วย ถ้าปราบอย่างเดียว อีกสักพักก็จะกลับมาใหม่ ถ้าเราทำควบคู่กันไป ทั้งการปราบปราม การปรับปรุงกฎหมายให้สมเหตุสมผล การมีระบบคุณธรรมส่งเสริมคนดีให้เติบโตมีความก้าวหน้าในอาชีพ และการใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุน ในที่สุด ปัญหาการคอร์รัปชั่น ก็จะถูกจัดการให้หมดไปอย่างถาวร และยั่งยืน

ที่มา

 

ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่  pordosolstyle.com

สนับสนุนโดย  ufabet369